ตลาดไก่ชน
การตลาดไก่ชนยุคนี้มันเป็นกลไกตลาดแบบทุนนิยมเต็มรูปแบบ คือเน้นการแข่งขันทุกรูปแบบ สินค้ามีหลายเกรดหลายราคาหลายแบรนด์
1.สินค้าแบรนด์ดีแบรนด์หลักก็ขายอีกตลาดหนึ่งมองลูกค้าอีกระดับหนึ่ง ฟาร์มใหญ่ขายลูกไก่คู่ละ2-5หมื่นก็ขายได้ผลิตไม่พอจำหน่าย เขาขายไข่ใบละ400-600บาทต้องจองข้ามปีนั่นแสดงว่าราคาไก่ชนไม่เคยต่ำลงเลยแม้คนจะเลี้ยงมากขึ้น ผู้บริโภคเริ่มบริโภคสินค้าจากแบรนด์นี่คือมิติใหม่การบริโภค
2.สินค้าแบรนด์รองเหมือนลูกฟาร์มของแบรนด์หลักก็ขายอีกราคาหนึ่งเน้นลูกค้าอีกระดับ อย่างสายสามเอี่ยว สายกระทิงใครๆ ก็มี สายหยกคีรี สายโกโก้ใครๆ ก็มี แต่จะตั้งราคาขายเหมือนแบรนด์หลักไม่ได้ ทั้งที่คุณภาพอาจเทียบกันได้หรือดีกว่าในบางรุ่นถ้ามีการพัฒนาที่ดี สาเหตุที่ราคาต่ำกว่าก็เพราะมันเป็นแบรนด์รอง เหตุผลมีเท่านี้
3.สินค้าที่คุณภาพดั้งเดิมไม่พัฒนาตามกระแส เช่น พม่าสวนมะนาว พม่าแม่สะเรียง พม่าสายน้ำ ไก่เชิงตราด ไก่เชิงพนัส ก๋อยวังสวนกล้วย ก๋อยเพชรยืนยงฯลฯ มันก็ยังขายได้ แต่ราคาไม่หวือหวาแล้ว เพราะตลาดให้ความสนใจลดลงหันไปสนใจไก่พัฒนาตามกระแสมากกว่า
4.สินค้าไม่มีแบรนด์ กลุ่มนี้เลี้ยงทั่วไปตามความเคยชิน ทั้งที่บางทีก็เอาสายพันธุ์มาจากสองสามกลุ่มบนมาพัฒนาแต่ขาดการประชาสัมพันธุ์ไม่สนใจทำตลาดเลยกลายเป็นสายบ้านๆ กลุ่มนี้จะขายตลาดสินค้าล่างเริ่มจากถูกๆ ไก่หนุ่ม300-1000บาท พอชนดีมีระดับราคาค่อยไต่เต้าขึ้นตามฝีมือและการเปลี่ยนมือ
ทั้ง4แนวคือการตลาดไก่ชนปัจจุบัน การทำสินค้าให้ยังยืนในตลาดคือการสร้างแบรนด์ให้น่าเชื่อถือและดำรงคุณภาพคงเส้นคงวาต่อยอดและพัฒนาไม่หยุด...นั่นคือวิถีการตลาด ถ้าทำแต่แบรนด์เดียวกับวิธีคิดเดิมๆ ไม่นานก็ถูกคู่แข่งแซงไป...คนเล่นไก่เดิมๆ คงจำได้ 30ปีที่แล้วไก่ตราดและไก่พนัส คือทองคำ ราคาดีใครๆ ก็แสวงหา คือช่วง20ปีเมื่อพม่าและก๋อยพัฒนาขึ้นไก่พม่าและก๋อยกลายเป็นทองคำเงินทองหลั่งไหลขึ้นภาคเหนือ แต่เมื่อคนภาคเหนือมีการพัฒนาสายพันธุ์ช้า วันนี้ไก่สองสายนี้ถูกนำไปพัฒนาในภาคอื่นโดยเฉพาะภาคกลางภาคอีสานและภาคใต้(ประจวบฯราชบุรีโคราชกลายเป็นฐานใหญ่) ในที่สุดคนภาคเหนือก็ต้องสั่งไก่สองสายนี้กลับไปพัฒนาไก่ตนเอง..นี่คือการตลาด สินค้าทุกอย่างต้องไม่หยุดนิ่ง ไม่งั้นเจ๊ง
การตลาดไก่ชนยุคนี้มันเป็นกลไกตลาดแบบทุนนิยมเต็มรูปแบบ คือเน้นการแข่งขันทุกรูปแบบ สินค้ามีหลายเกรดหลายราคาหลายแบรนด์
1.สินค้าแบรนด์ดีแบรนด์หลักก็ขายอีกตลาดหนึ่งมองลูกค้าอีกระดับหนึ่ง ฟาร์มใหญ่ขายลูกไก่คู่ละ2-5หมื่นก็ขายได้ผลิตไม่พอจำหน่าย เขาขายไข่ใบละ400-600บาทต้องจองข้ามปีนั่นแสดงว่าราคาไก่ชนไม่เคยต่ำลงเลยแม้คนจะเลี้ยงมากขึ้น ผู้บริโภคเริ่มบริโภคสินค้าจากแบรนด์นี่คือมิติใหม่การบริโภค
2.สินค้าแบรนด์รองเหมือนลูกฟาร์มของแบรนด์หลักก็ขายอีกราคาหนึ่งเน้นลูกค้าอีกระดับ อย่างสายสามเอี่ยว สายกระทิงใครๆ ก็มี สายหยกคีรี สายโกโก้ใครๆ ก็มี แต่จะตั้งราคาขายเหมือนแบรนด์หลักไม่ได้ ทั้งที่คุณภาพอาจเทียบกันได้หรือดีกว่าในบางรุ่นถ้ามีการพัฒนาที่ดี สาเหตุที่ราคาต่ำกว่าก็เพราะมันเป็นแบรนด์รอง เหตุผลมีเท่านี้
3.สินค้าที่คุณภาพดั้งเดิมไม่พัฒนาตามกระแส เช่น พม่าสวนมะนาว พม่าแม่สะเรียง พม่าสายน้ำ ไก่เชิงตราด ไก่เชิงพนัส ก๋อยวังสวนกล้วย ก๋อยเพชรยืนยงฯลฯ มันก็ยังขายได้ แต่ราคาไม่หวือหวาแล้ว เพราะตลาดให้ความสนใจลดลงหันไปสนใจไก่พัฒนาตามกระแสมากกว่า
4.สินค้าไม่มีแบรนด์ กลุ่มนี้เลี้ยงทั่วไปตามความเคยชิน ทั้งที่บางทีก็เอาสายพันธุ์มาจากสองสามกลุ่มบนมาพัฒนาแต่ขาดการประชาสัมพันธุ์ไม่สนใจทำตลาดเลยกลายเป็นสายบ้านๆ กลุ่มนี้จะขายตลาดสินค้าล่างเริ่มจากถูกๆ ไก่หนุ่ม300-1000บาท พอชนดีมีระดับราคาค่อยไต่เต้าขึ้นตามฝีมือและการเปลี่ยนมือ
ทั้ง4แนวคือการตลาดไก่ชนปัจจุบัน การทำสินค้าให้ยังยืนในตลาดคือการสร้างแบรนด์ให้น่าเชื่อถือและดำรงคุณภาพคงเส้นคงวาต่อยอดและพัฒนาไม่หยุด...นั่นคือวิถีการตลาด ถ้าทำแต่แบรนด์เดียวกับวิธีคิดเดิมๆ ไม่นานก็ถูกคู่แข่งแซงไป...คนเล่นไก่เดิมๆ คงจำได้ 30ปีที่แล้วไก่ตราดและไก่พนัส คือทองคำ ราคาดีใครๆ ก็แสวงหา คือช่วง20ปีเมื่อพม่าและก๋อยพัฒนาขึ้นไก่พม่าและก๋อยกลายเป็นทองคำเงินทองหลั่งไหลขึ้นภาคเหนือ แต่เมื่อคนภาคเหนือมีการพัฒนาสายพันธุ์ช้า วันนี้ไก่สองสายนี้ถูกนำไปพัฒนาในภาคอื่นโดยเฉพาะภาคกลางภาคอีสานและภาคใต้(ประจวบฯราชบุรีโคราชกลายเป็นฐานใหญ่) ในที่สุดคนภาคเหนือก็ต้องสั่งไก่สองสายนี้กลับไปพัฒนาไก่ตนเอง..นี่คือการตลาด สินค้าทุกอย่างต้องไม่หยุดนิ่ง ไม่งั้นเจ๊ง