วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2563

การเลี้ยงไก่ชนไซ่ง่อนเป็นอาชีพเสริม

         ไก่ชนไซ่ง่อนเป็นอีกสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมมายาวนาน ไก่ชนสายพันธุ์นี้มีเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกช่วงสงครามอินโดจีน  โดยผ่านมาทางประเทศลาว และเข้ายังภาคอีสาน ผู้เขียนเองรู้จักไก่ไซ่ง่อนตั้งแต่จำความได้นับเวลาไม่ต่ำกว่า 50 ปี ที่มีการปล่อยเลี้ยงตามใต้ถุนบ้านของคนบ้านนอกสมัยโบราณ แต่ระยะหลังเริ่มหมดไปเพราะชาวบ้านไม่นิยมเลี้ยงเนื่องจากเนื้อเหนียว กระดูกแข็ง บริโภคไม่อร่อย  จนมาถึงช่วง20กว่าปีที่ผ่านมาประมาณปี 2535 เริ่มมีการนำเข้าไก่ชนไซ่ง่อนมาเล่นและเลี้ยงในประเทศอย่างแพร่หลายเพราะทางบริษัทซีพี ได้มีการแจกและขายสำหรับชาวบ้านนำไปขยายพันธุ์ ไก่ไซ่ง่อนจึงถูกนำไปผสมกับไก่สายอื่นอย่างหลากหลาย

      สำหรับคนที่คิดจะเลี้ยงไก่ไซ่ง่อนเป็นอาชีพเสริม ก็นับว่าเป็นแนวทางที่น่าสนใจเพราะไก่ไซ่งอนในช่วงหลังๆ ก็ยังมีความนิยมในการเลี้ยงอย่างแพร่หลายเช่นเดิม ส่วนแนวทางในการเลี้ยงและพัฒนาจำหน่ายนั้นสามารถจำแนกได้ 3 แนวทางคือ

1.การเลี้ยงไก่ไซ่ง่อนเลือดร้อย คือนำพ่อแม่พันธุ์เลือก100 มาผสมลูกจำหน่าย อันนี้เป็นแนวทางที่น่าสนใจเพราะอายุ 3 เดือนจะได้ราคาตัวละ500-1000บาท ตามสายพันธุ์ที่เราแสวงหามา
2.การเลี้ยงไก่ไซ่ง่อนผสมพม่า เป็นการพัฒนาเชื้อสายลูกผสมที่ต้องการโครงสร้างแข็งแรงและมีเชิงชนแบบไก่พม่า  อันนี้ก็เป็นไก่ที่มีความนิยมมากเช่นกันตลาดยังไปได้ไม่สิ้นสุด

3.การเลี้ยงไก่ไซ่ง่อนผสมไก่ป่าก๋อย นี่ก็เป็นสายที่นิยมมากเช่นกัน คิดว่าอนาคตตลาดสายนี้ก็น่าจะโตไม่มีขีดจำกัด การพัฒนาสายนี้มีแนวโน้มการส่งออกต่างประเทศที่ดีด้วย เพราะชาวอินโดนีเซีย มีความนิยมไก่ชนสไตล์แบบนี้

ส่วนรูปแบบอื่นที่มีการพัฒนาในปัจจุบัน มีการนำเอาไก่ต่างประเทศนานาสายพันธุ์มาพัฒนาต่อยอด เช่นไก่บราชิล ไก่อินเดีย ไก่อาหรับ ไก่เปรู ไก่ฟิลิปปินส์ ฯลฯ ซึ่งก็เป็นช่องทางในการพัฒนาไก่ไซ่ง่อนด้วยเช่นกัน 

วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2563

การเลี้ยงไก่ชนพม่าสร้างอาชีพ

ตลาดไก่ชนพม่ายังถือว่าเป็นตลาดที่มีศักยภาพมาตลอดระยะเวลา 20-30 ปี ที่ผ่านมา แม้ในปัจจุบันความนิยมพม่าเลือดร้อยจะลดลงหรือหดหายไปในสังเวียนคนชนไก่ แต่ไก่ชนพม่าก็ได้พัฒนาสายพันธุ์ไปสู่แนวทางที่เหมาะสมกับการเล่นไก่ชนในประเทศไทยเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่ยังคงเค้าโครงพม่าเดิมๆ ให้เห็นคือ




1.ลีลาเชิงชนที่โดดเด่น ได้แก่ โยกลอดถอดถอย ม้าล่อสั้น ม้าล่อยาว ลีลาดีดแข้งหน้าที่แม่นยำ นี่คือลีลาเชิงชนที่ยังคลาสสิคของไก่ชนพม่าไม่เคยเสื่อมคลาย
2.สีสันตามแบบพม่า ได้แก่ สีสาขาว สาดำ สาเหลืองดอกหมาก สีกรดเหลือ กรดแดง กรดดู่ สีหมากเหลือง หมากแดง สีเหล่านี้คือสีหลักๆ ที่ยังโดดเด่นแสดงถึงเอกลักษณ์ทางสายพันธุ์ที่งดงาม
ส่วนสิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากพม่าเลือดร้อยในอดีต เรื่องหลักๆ คือ
1.โครงสร้างทางร่างกาย จากโครงสร้างเล็กบอบบาง(เดิมทีไก่พม่าเลือดร้อยน้ำหนักช่วงหนุ่มๆ ประมาณ 1.5-2.5 กก.เท่านั้น) ปัจจุบันไก่พม่าเปลี่ยนแปลงไปสู่โครงสร้างที่หนาใหญ่แข็งแกร่งขึ้น (ไก่หนุ่มพัฒนาเลือดพม่าปัจจุบัน นน.2.5-3.0 กก.โดยประมาณ) ผิวหนังหนาและแดง  ซึ่งแสดงถึงการมีเลือดผสมของสายอื่นอยู่ภายในยีนส์อย่างชัดเจน
2.นิสัยความอดทนมีมากขึ้น ความเปรียวลดลง พฤติกรรมการนอนบนที่สูงหรือบินขึ้นสู่ที่สูงแบบไก่ป่าลดลง สามารถนำมาเลี้ยงให้เชื่องได้ง่ายขึ้น 
ดังนั้นเมื่อคิดจะเลี้ยงไก่พม่าเพื่อทำฟาร์มแบบสร้างอาชีพ สิ่งสำคัญที่นักเพาะเลี้ยงต้องคำนึงคือ การพัฒนาไก่พม่าให้มีลักษณะเด่นตามยุคตามสมัยนั้นเอง การเลี้ยงไก่พม่าแบบเลือดร้อในอดีตอาจไม่จำเป็นอีกต่อไปสำหรับทิศทางการพัฒนาไก่ชนพม่าในยุคนี้ เพราะไก่พม่าได้ถูกพัฒนาสายพันธุ์ขึ้นมาอย่างหลากหลายเราสามารถเลือกหยิบมาต่อยอดพัฒนาได้ง่ายขึ้น  จนอาจกล่าวได้ว่าไก่พม่ายุคใหม่ก็คือไก่ชนไทยที่มีการพัฒนาสายเลือดมาจากไก่พม่านั่นเอง ซึ่งจะไม่ใช่ไก่พม่าเลือดร้อยดังเช่นในอดีต

เข้าใจไก่ไข่ของคุณดีหรือยัง

ชุดพ่อพันธุ์ 2023

 ชุดพ่อพันธุ์พัฒนาในช่วงปี2023 บางส่วน