ข้อคิดการให้น้ำไก่ชนยุค5จี
เมื่อ20-30ปีก่อน ถึงวันออกสนามประลอง สิ่งที่ขาดไม่ได้ของมือน้ำโบราณคือ เตรียมอุปกรณ์ให้น้ำดูยุ่งยากไปหมด เตา ถ่าน น้ำ ใบตะไคร้ ใบหนาด ขมิ้นชัน ฯลฯ (ตามความเชื่อแต่ละซุ้ม)ต้องหาไปเอง สนามไม่มีให้ชนไก่สมัยก่อนสนามอยู่กลางป่าไม่มีน้ำประปา ไม่มีไฟฟ้า มืดมาใช้ตะเกียงเจ้าพายุ2-3ดวง...จุดกันเข้าไป พอไก่เข้าสังเวียน คนอยู่นอกต้องก่อไฟต้มน้ำ เตรียมการชนกัน12-15ยก บางทีสว่างคาตา ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ไก่เชิงสมัยก่อนสองยกแรกไม่ต้องทำไรไล่หาหัวกันแผลไม่ค่อยเกิด ให้น้ำแต่ละยกกินข้าว ป้อนกล้วย และแตงจนแน่นกระเพาะ...ดูเหมือนมันจะย่อยเร็วนักหนา..เข้าทำนองกลัวไก่หิว ยาโด๊ปไก่บ้านนอกคือ ยาทัมใจ กระทิงแดง ไก่ในเมืองดีหน่อยมีกลูโคส หรือแบรนด์ว่ากันไป
จินตนาการการให้น้ำไก่สมัยก่อนเป็นจินตาการจากประสบการณ์ที่ลอกๆ กันมาไม่มีใครฟันธงว่าเป็นยังไง พิสูจน์ไม่ได้ เห็นว่าคนอื่นทำก็ทำตามกัน เน้นให้น้ำอุ่น นาบกระเบื้องก่อนเข้าชน ป้อนข้าวให้เยอะๆ เชื่อว่าไก่จะมีพลังบิน
วันเวลาเปลี่ยนไปแนวคิดความเชื่อเปลี่ยนไปพร้อมกับการเรียนรู้ใหม่ ๆ มือน้ำสมัยใหม่เปลี่ยนแนวคิดวิธีการให้น้ำโดยนำวิีการทางการแพทย์ที่ใช้กับคนมาประยุกต์ใช้ หลักการที่สำคัญคือ
1.เน้นพักผ่อนมากกว่าการตกแต่งตัวไก่ พอไก่ออกมาก็จะให้พักก่อนเลยไม่ต้องทำอะไร โดยลูกน้ำพอเย็นๆ แล้วนอนพัก เรียกว่าเน้นลดอุณหภูมิในตัวไก่ก่อน เน้นให้หายเหนื่อยก่อนไม่ต้องรีบร้อนทำอย่างอื่น พักนอนซัก5-7 นาทีตามสภาพวิเคราะห์เอา...ว่างานต่อไปมีเยอะไหมทันเวลาไหม
2.พักเสร็จเอามาล้างหน้าล้างตา ปั่นคอนิดหนึ่ง ให้กินยาบำรุง ดูแผลจะทำตรงไหน อันนี้มือน้ำต้องนั่งคิดตั้งแต่ไก่ชนกันอยู่ในสังเวียนนะอย่ามาคิดตอนออกมาแล้ว ดูวาไก่เราถูกตีแผลไหน จะแก้ตรงไหนบ้าง ไขหัวถ่างตามัดปากอย่างไรทำตรงไหนให้ใช้เวลาสั้นที่สุดใช้เวลาซัก5-7นาที ให้เสร็จยิ่งน้อยยิ่งดี
3.เสร็จแล้วมียาบำรุงตัวไหนอีกก็กินเพิ่ม กินน้ำ นอนพัก5นาที เตรียมไก่เข้าสนาม ลูบไล้ให้เย็นเบาๆ ก่อนเข้าสนามก็พอ
4.ข้อห้ามคือห้ามใช้น้ำแข็งวางบนตัวไก่ เอาผ้าเย็นลูบๆก็พอ ห้ามให้ความร้อน หรือชุดรมควันใดๆ เน้นให้ไก่ได้อ๊อกซิเจนเยอะๆ นอนดีๆ ห้ามทำรุนแรงค่อยๆ จับค่อยๆวาง ห้ามเสียงรบกวน ฯลฯ
นี่คือแนวทางการให้น้ำสมัยใหม่ครับ..ลองปรับดูโดยเฉพาะมือใหม่