วันจันทร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2563

คอดอก

โรค คอดอก เป็นภาษาท้องถิ่น ชาวบ้านที่เราเรียกกันมานานจนติดปาก โรคคอดอกจะแสดงอาการอักเสบที่ปากหลอดอาหาร บางทีก็ลามลงไปในหลอดลมหรือหลอดอาหาร เกิดจากเชื้อโปรโตซัวชื่อว่า Trichomonas gallinae (ทริโคโมนาส กัลลิแน)ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ



ในภาพอาจจะมี หนึ่งคนขึ้นไปเป็นโรคติดต่อโดยการปนเปื้อนเชื้อในน้ำกิน จะพบรอยโรคเป็นตุ่มคล้ายดอกกระดุมสีขาว สามารถขูดออกได้ พบในปาก หลอดอาหาร และกระเพาะพัก ช่องปากจะมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว ไก่จะทำท่ากลืนบ่อยๆ คนเลี้ยงไก่มักจะบอกว่าขูดออกแล้วหาย พอไม่นานก็เป็นอีกครั้ง เหมือนโรคจะไม่ค่อยรุนแรง แต่บางรายเกิดเป็นก้อนเนื้อฝีขนาดใหญ่อยู่ที่เพดานปาก และลำคอได้ทีเดียว
แต่สิ่งที่ผู้เลี้ยงกังวล คือ ไก่ขันเสียงเปลี่ยน และการติดต่อไปยังตัวอื่น ซึ่งแน่นอนเป็นหนึ่ง มักจะพบตัวอื่นๆ เป็น คงต้องแก้ไขกันจริงๆ
เพื่อแยกโรคการวินิจฉัยโดยการขูดเนื้อเยื่อบริเวณหลอดอาหารแล้วป้ายลงบนสไลด์ (wet smear) ตรวจลักษณะของเชื้อโปรโตซัวจากกล้องจุลทรรศน์ โดยจะเห็นการเคลื่อนไหวของเชื้ออย่างชัดเจนภายใต้กำลังขยายวัตถุ 40 เท่า
การรักษาโดยการให้ยา dimetridazole ในอาหาร ในอเมริกาห้ามใช้ยาชนิดนี้ เพราะมีพิษต่อตับ หรือcarnidazole ให้กินครั้งเดียว หรือ metronidazole ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ วันละครั้งติดต่อกัน 2 วัน หากเจ้าของไม่สะดวกมักจะให้ยาในรูปกิน นาน 5-7 วัน ให้ผลเป็นที่น่าพอใจ (ชื่อยาทั้งสามตัวเป็นชื่อสามัญ เวลาสั่งเราก็บอกชื่อสามัญ สัตวแพทย์เขาจะจัดให้ตามนั้น)
ควรแยกไก่ป่วย จะช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อโรค จนกว่าจะหายขาด การรักษาต้องรักษาให้หายขาด และควรนำไก่มาตรวจอยู่เสมอ เพื่อลดการติดต่อไปสู่ตัวอื่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เข้าใจไก่ไข่ของคุณดีหรือยัง

ชุดพ่อพันธุ์ 2023

 ชุดพ่อพันธุ์พัฒนาในช่วงปี2023 บางส่วน