วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

การผสมแบบCross Breeds

การผสมแบบครอสบรีดหรือการผสมพันธุ์ข้ามสายพันธุ์เป็นกระบวนการของการผสมพันธุ์โดยมีความตั้งใจที่จะสร้างลูกหลานที่มีลักษณะของเชื้อสายพ่อแม่หรือเพื่อผลิตสัตว์ที่มีความแข็งแรง มีลักษณะเด่นของสองสายพันธุ์มารวมกัน 

 


ในการพัฒนาไก่ชนลูกผสมการผสมข้ามสายพันธุ์เป็นสิ่งจำเป็นเพราะสายพันธุ์ดั้งเดิมของแต่ละสายมีจุดเด่นจุดด้อยแตกต่างกัน เช่น
-ไก่พม่า มีจุดเด่นที่ออกแข้งเร็วและแม่นยำ (ถ้าขาดสองอย่างนี้ก็เป็นพม่าตัดอ้อยห้ามเลี้ยง) จุดด้อยคือ บอบบาง อ่อนแอ เปรียว ตัวเล็ก
-ไก่ไทย จุดเด่นคือชั้นเชิงสวยงาม ร่างกายสมส่วน เชื่อง จุดด้อยคือ ความแม่นยำน้อย
-ไก่ไซ่ง่อน จุดเด่นคือแข็งแกร่ง ตีหนัก ตัวโต จุดอ่อนคือ ช้า ขนน้อยหักง่าย
-ไก่บราชิล จุดเด่นคือ แข็งแกร่ง ตีหนัก แม่นยำ จุดอ่อนคือ ชั้นเชิงน้อย
ถ้าเปรียบเทียบ 4 สายพันธุ์นี้ก็จะเห็นความแตกต่างที่ยังไม่ลงตัว ทุกสายยังขาดนั่นนิดนี่หน่อยจำเป็นต้องมีการผสมข้ามสายพันธุ์เพื่อทำให้สายพันธุ์มันส่งยีนส์เด่นออกมาในชั้นลูกหลาน ซึ่งผลของการพัฒนาจะมีได้หลายแบบเช่น
1.ได้จุดเด่นของพ่อและแม่มาทั้งหมด เช่นพม่าผสมง่อนก็จะได้ไวแม่นแข็งแกร่ง ซึ่งสิ่งที่ปรากฎอาจจะไม่โดดเด่นถึงลักษณะเด่นของพ่อแม่ แต่ก็สามารถเห็นได้ชัดเจนว่ามีการพัฒนาขึ้น
2.ได้ลักษณะเด่นของพ่อหรือแม่อย่างใดอย่างหนึ่ง เนื่องจากยีนส์เด่นของอีกฝ่ายไปข่มยีนส์ของอีกฝ่ายไม่ให้แสดงออกมาชัดเจน เช่น ผสมง่อนไทย จะได้ไก่มีชั้นเชิงดีขึ้นแต่ตีช้าลงตามแบบง่อนเป็นต้น
3.ได้ไก่ที่มีลักษณะด้อยของพ่อและแม่ออกมาทั้งหมด เช่นผสมพม่าง่อนก็จะได้ไก่ช้า โง่ ยืนโด่หรือวิ่งลายหัว เป็นต้น
ส่วนสัดส่วนที่จะปรากฎออกมาในชั้นลูกนี้ก็ไม่สามารถระบุชัดเจนได้เพราะลักษณะเด่นที่เป็นยีนส์ภายในสายพันธุ์เราไม่รู้ว่ารุ่นพ่อแม่ที่นำมาผสมกันนี้เป็นไก่พันธุ์แท้หรือพันธุ์ทาง ส่วนมากไก่ที่เรานำมาเลี้ยงก็ซื้อขายต่อ ๆ กันมาไม่ทราบประวัติเชิงลึก ดังนั้นการผสมข้ามสายโดยรูปแบบที่เราทำอยู่จึงเป็นการผสมแบบคาดเดาตามกฎเมนเดลเท่านั้น เราไม่สามารถควบคุมตัวแปรต่าง ๆ ก่อนการทดลองได้
อย่างไรก็ตามวิธีการนี้ก็ถือว่าเป็นวิธีการที่นิยมในการสร้างสายพันธุ์ใหม่ ๆ เพื่อนำไปต่อยอดในชั้นหลานและเหลนต่อไปซึ่งโอกาศได้ไก่ดีๆ ตามเป้าหมายมีสูงขึ้น  เพียงต่อพอผสมในชั้นลูกแล้วพอไม่ดีตามที่ตั้งใจก็ทิ้งไม่มีการพัฒนาต่อซึ่งก็สูญเสียเวลา เงินทองและโอกาสในการพัฒนานั่น
การผสมแบบครอสบรีด เป็นการผสมเพื่อพัฒนาลักษณะเด่นของสายพันธุ์ขึ้นมาเป็นการเติมจุดเด่นลบจุดด้อยทางสายพันธุ์ แต่ยังจะไม่สามารถได้ลูกไก่ที่ดีพร้อมในชั้นนี้หรือถ้ามีก็น้อยมาก จำเป็นต้องมีการพัฒนาต่อในชั้นหลานเหลนต่อไป

วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

การผสมแบบไลน์บรีดในไก่ชน ไก่พื้นเมืองและไก่ไข่


การพัฒนาพันธุ์สัตว์มีแนวทางการผสมที่สำคัญสองแนวทางใหญ่ ๆ คือ




1.การผสมแบบinbreeding คือการผสมพันธุ์สัตว์ที่คู่ผสมพันธุ์มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติใกล้ชิดกัน ไม่ว่าจะเป็นพ่อกับลูก แม่กับลูก ลูกครอกเดียวกัน หรือแม้กระทั่ง ลุง ป้า น้า อา กับหลานก็จัดอยู่ในกลุ่มอินบรีดดิ้งทั้งสิ้น

2.การผสมแบบlinebreeding คือการผสมพันธุ์สัตว์แบบอินบรีดดิ้งชนิดหนึ่งแต่วิธีการนี้จะไม่ผสมพันธุ์สัตว์ที่มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติใกล้ชิดกันมากๆ หลักการคือจะพยายามที่จะให้เกิดการผสมเลือดชิดน้อยลง แต่ต้องการรักษาเลือดของสัตว์ตัวใดตัวหนึ่งที่ดีเป็นพิเศษเอาไว้ มีวิธีการได้หลายแบบตามใจนักผสมพันธุ์ต้องการ 

สมมุติเช่นมีพ่อไก่ชนตัวหนึ่งเก่งสุดยอด เราก็เอามาผสมกับตัวเมียที่ดีของเราได้ลูกออกมาครอกนึง หลังจากนั้นเราจะทำสายต่อ (ถ้าลูกผสมกันเองหรือลูกผสมกับพ่อจัดเป็นอินบรีดดิ้ง) และต้องการจะทำไลน์บรีดของพ่อไก่ตัวเก่ง อาจทำได้โดยคัดเลือกลูกตัวผู้สองตัวที่เหมือนพ่อที่สุดมา ก็เอาลูกตัวแรกผสมกับตัวเมียจากครอกA ลูกตัวที่สองผสมกับตัวเมียจากครอกB ลูกที่ได้จากทั้งสองครอกนี้คัดเลือกตัวที่เหมือนปู่มากที่สุดเอามาผสมพันธุ์ไขว้กัน จะได้ลูกไก่ชนที่มีเลือดสุดยอดพ่อไก่อยู่ 25% โดยเฉลี่ย ในสัตว์ที่ใช้การผสมเทียมมีการทำน้ำเชื้อแช่แข็งเก็บไว้จะสามารถมีลูกเล่นในการผสมไลน์บรีดดิ้งได้หลากหลาย เช่นเอาหลาน เหลนกลับไปผสมกับทวดอีกครั้ง

 ข้อดีของไลน์บรีดดิ้งคือถ้าในชนิดสัตว์ที่มีผลกระทบจากการผสมเลือดชิดง่าย เช่นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ปศุสัตว์ทั่วไป หรือแม้แต่สัตว์ที่อาจมียีนส์ผิดปกติแฝงอยู่การเกิดความผิดปกติจะเกิดน้อยลง


ข้อดีของอินบรีดดิ้งคือได้ความสม่ำเสมอของรุ่นลูกที่เกิดขึ้น รักษาลักษณะที่ดี ๆ ในฝูงสัตว์นั้นให้คงอยู่
ข้อเสียมีคล้ายกันคือ เกิดความผิดปกติในสัตว์ที่มียีนส์ที่ผิดปกติ หรือความแข็งแรงต้านทานโรคลดลง มากน้อยขึ้นกับชนิดของสัตว์ด้วย โอกาสของอินบรีดจะเกิดสูงกว่าไลน์บรีด

เข้าใจไก่ไข่ของคุณดีหรือยัง

ชุดพ่อพันธุ์ 2023

 ชุดพ่อพันธุ์พัฒนาในช่วงปี2023 บางส่วน