วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2563

การอนุบาลไก่

ช่วงแรกที่เริ่มเพาะไก่ ก็ซื้อไก่จากหลายฟาร์มเข้ามาทำสาย ถึงปัจจุบันก็ยังซื้ออยู่ ปัญหาที่พบตลอดของการซื้อไก่ฟาร์มใหญ่ๆ คือ ไก่ไม่ค่อยแข็งแรงพบเห็นบ่อยๆ จากการสังเกตก็พบว่าการเลี้ยงไก่ผิดวิธีคือเน้นจัดการแบบง่ายๆ เกินไป วันนี้เลยนำข้อคิดการอนุบาลไก่มาฝากครับ

วิธีอนุบาลไก่แบบให้เหลือรอดมากที่สุด นำเสนอซัก 2 วิธีพอเป็นแนวทาง
เลี้ยงไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่ เสริมรายได้อาจกลายเป็นอาชีพหลัก ... วิธีที่1 ขังรวมกับแม่เพื่อให้แม่ให้ความอบอุ่น อันนี้เหมาะกับเลี้ยงจำนวนน้อยๆ โดยจะขังในกรง หรือขังในสุ่ม หรือขังในท่อก็ตามแต่สะดวก หลักการของวิธีนี้ง่ายๆ คือแม่จะได้ให้ความอบอุ่นและป้องกันยุงกัดภายในปีกของแม่ ไก่ส่วนมากก็จะรอด จุดสำคัญคือช่วงปล่อยไก่อิสระ คือพอลูกโตได้2เดือนควรปล่อยแม่ไก่ให้พาลูกหากินอิสระ ลูกจะได้แข็งแรง ได้เรียนรู้วิธีเอาตัวรอด ซึ่งช่วงนี้ต้องระวังถ้าปล่อยนอนคอกเลยแม่ไก่จะขึ้นนอนคอนข้างบนลูกไก่จะขึ้นไม่ได้ยุงจะกัดหรือหน้าหนาวบางทีก็หนาวเป็นหวัดตาย ดังนั้นคอนนอนต้องเป็นแผ่นเรียบๆ มีทางเดินขึ้นใช้ไม้แผ่นหรือไม้ไผ่สานเป็นตะแกรงทอดให้ไก้เล็กเดินขึ้นได้ แต่ถ้าสะดวกจับขังทุกเย็นก็ดีจนพ้นระยะ3เดือน ลูกไก่แข็งแรงเต็มที่ค่อยปล่อยอิสระPANTIP.COM : Y11077912 ปฏิสัมพันธ์เชิงบวกก็เหมือนแม่ไก่อยู่กับ ...
วิธีที่สองคือขังกรงกกไฟให้ความอบอุ่น อันนี้เหมาะกับเลี้ยงจำนวนมากๆ ซึ่งฟาร์มหรือซุ้มเลี้ยงทุกวันนี้นิยมมาก เป็นวิธีไม่ยุ่งยากจับไก่ใส่กรงเปิดไฟใส่น้ำใส่อาหารก็จบ แต่ปัญหามันอยู่ที่ช่วงจะลงดิน ปกติอายุ2 เดือนหรือเดือนกว่าๆ ควรจะลงดินได้แล้วเพื่อให้ไก่มีอิสระวิ่งเดินได้สัมผัสสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ จะทำให้ร่างกายเขาแข็งแรง แต่ฟาร์มส่วนมากมักง่ายไม่ยอมเอาลงดินเพราะกลัวปัญหาการจัดการยากก็ขังกรงเลี้ยงตลอดรอจำหน่ายไก่เล็กเมื่ออายุเลย2-3 เดือนไปแล้วไก่จะเริ่มไม่แข็งแรง ร่างกายโตแต่ไม่มีกล้ามเนื้อ ตัวซีดๆ เหลืองๆ ไม่มีลักษณะไก่ชนเลย อ่อนแอพร้อมที่จะป่วยตลอดเวลา ยิ่งบางฟาร์มไม่ยอมปรับสูตรอาหารไก่กินอาหารสำเร็จยิ่งอ่อนแอไปใหญ่ หญ้าผักเปลือกหอยดินหินไม่เคยได้กิน ระบบย่่อยก็อ่อนแอไก่ก็จะป่วยได้ง่าย
จุดสำคัญของการเลี้ยงแบบขังกรงคือการนำไก่ลงพื้นดิน ช่วงอายุ2 เดือน เมื่อลงดินใหม่ๆ ต้องให้ยาละลายน้ำสม้ำเสมอ อย่าพึ่งเปลี่ยนสูตรอาหารให้เวลาผ่านไป 1 สัปดาห์ค่อยเริ่มให้อาหารผสม เช่นปลายข้าว รำอ่อน ข้าวก้อง ข้าวโพดบดผสมลงไป ผัก หญ้าเป็นต้น โดยให้แต่น้อยรอให้ไก่ปรับสภาพกินเป็น ผ่านไปสองสัปดาห์ค่อยเพิ่มอาหารผสมมากขึ้น เพิ่มผักหญ้ามากขึ้น เริ่มให้ข้าวเปลือกเสริม อาหารสำเร็จก็ลดลง ไก่ก็จะแข็งแรงครับ
ลองปรับดูนะครับ

วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2563

ปัญหาการพัฒนาม้าล่อ

ปัญหาการพัฒนาไก่พม่าม้าล้อ
นี่คือจุดปัญหาการพัฒนาพม่าม้าล่อ ซึ่งยังจะเป็นปัญหาต่อไป นานๆ จะมีตัวหลุดมามีคุณสมบัติครบก็จะเป็นไก่เก่งราคาแพง
คลิป วีดีโอ ไก่ชน - ภานุเจริญฟาร์ม หนุ่มโรงหมี่, ไก่ชน, ไก่พ่อ ...หนุ่มโรงหมี่ ผสม จักรินฟาร์ม - Kaideeไก่พม่าม้าล่อมีสามแบบใหญ่คือ ม้าล่อยาว ม้าล่อรำวง ม้าล่อสั้นสลับยาว   -ม้าล่อยาว จะเน้นวิ่งทางยาว ม้าล่อยาวที่ดีคือวิ่งเร็ว ไม่กระโดดสังเวียน มีจังหวะกลับมาทำคู่ต่อสู้ บางตัววิ่ง2-3รอบก็กลับมาทำคู่ต่อสู้ บางตัววิ่งยาวเป็น10รอบๆ ค่อยกลับมาทำคู่ต่อสู้ บางตัววิ่งเป็นยกรอจนคู่ต่อสู้ไปต่อไม่ได้ค่อยกลับมาทำคู่ต่อสู้และปิดบัญชีเลย ดังนั้นคุณสมบัติพิเศษของม้าล่อยาวคือวิ่งเร็วแข็งแรง รักษาระยะห่างระหว่างตัวเองกับคู่ต่อสู้ได้ดี มีสปีดเร็วสปีดช้าเป็นจังหวะตามการไล่ของคู่ต่อสู้ ถ้าคู่ต่อสู้หยุดหรือถูกตามตีทันจะกลับมาเอาคืนแล้วออกวิ่งต่อไป   -ม้าล่อรำวง คือไก่ที่ชนแบบวิ่งออกซ้ายหรือออกขวาออกวิ่งวนใกล้ๆ แล้วแล้วกลับมาตีเป็นชุดแล้วออกวิ่งซ้ายหรือขวา เป็นจังหวะไป คือออกวิ่งแล้วดักจังหวะสาดแข้งเปล่าแล้วเข้าทำเป็นชุดๆ ไม่หยุดนิ่ง จังหวะโยกถอดกลับตัวออกวิ่ง 3-4ก้าวรอคู่ต่อสู้หันกลับมาแล้วจะสาดแข้งเปล่าและเข้าทำ เป็นลีลาที่สวยงามคลาสสิคมาก มักพบในไก่พม่าเลือดร้อย พอเป็นลูกผสมหรือเลือดผสมมักไม่ออกแบบนี้
-ม้าล่อสั้นสลับยาว คือลักษณะผสมผสานระหว่างเชิงชนแบบที่ 1และ2 คือถ้าโดนคลุมจัดๆ ค่อยวิ่งออกยาว ส่วนมากไก่ชนมีชื่อดังๆ จะอยู่ในกลุ่มนี้เช่น เจ้าโกโก้ เจ้าปีใหม่ เจ้าพระจันทร์เสี่ยว เจ้ามหานคร เป็นต้น
-คุณสมบัติ 3 ข้อที่ขาดไม่ได้ของไก่ม้าล่อคือ วิ่งแข็งแรง แข้งต้องสปริง(แข้งเปล่าต้องดี)และตีเจ็บ ขาดข้อใดข้อหนึ่งจะเป็นม้าล่อที่ไม่ดีทันที และปัญหาที่พบในการพัฒนาม้าล่อก็คือ 1.วิ่งช้าหรือวิ่งไม่สวยบางตัวกลายเป็นลายหัวให้เขาตี 2.ไม่ชิงทำก่อนขาดแข้งหน้าสะกัดคู่ต่อสู้คือวิ่งไปแล้วกลับมาจะเข้าเชิงชนไม่สาดนำอันนี้ทำให้คู่ต่อสู้ทำก่อนได้ 3.ตีไม่ฝังตีไม่แม่นข้อนี้จะพบมาก
ลองดูคลิปลูกเจ้าหมอกมายา ในกลุ่มไลน์นะครับ

เข้าใจไก่ไข่ของคุณดีหรือยัง

ชุดพ่อพันธุ์ 2023

 ชุดพ่อพันธุ์พัฒนาในช่วงปี2023 บางส่วน