บางคนเลี้ยงไก่เอาแดดหนักเกินไปไก่หอบมากอวัยวะภายในทำงานหนักมาก จะบอบช้ำและเสียหาย จนถึงขั้นทำงานไม่ปกติ
นอกจากนี้การป่วยด้วยเชื้อโรคต่างๆ (โรคไก่มีจำนานมากมาย) โดยเฉพาะเชื้อที่มากับยุง จะเข้าสู่กระแสเลือดของไก่ “โรคมาลาเรียในไก่ (Chicken malaria)” ซึ่งเป็น โรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะนำโรค โรคมาลาเรียในไก่เป็นโรคติดต่อ ที่สำคัญ และพบการระบาดทั่วโลก โดยเฉพาะในเขตอากาศ ร้อนชื้น และกึ่งร้อนชื้น เช่นทวีปเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาใต้ โรคนี้ทำให้ไก่ป่วยมี ภาวะโลหิตจาง มีน้ำหนักลดลง ผอม ไม่มีแรง ไข่มีขนาดเล็กลง เปลือกบาง แตกง่าย ในช่วงแรกที่ไก่ได้รับเชื้อ ไก่จะยังไม่แสดงอาการให้เห็นแบบทันที แต่จะค่อยๆส่งผล เช่น ไก่อยู่ดี ๆ เด่วหน้าแดงหน้าซีด หรือไก่ที่เลี้ยงตีแล้วลงนวม แต่บินไม่ดี ไม่แข็งแรง ทั้ง ๆ ที่เราดูแลกินยาบำรุงเป็นอย่างดี แต่หลังจากนั้นไก่จะแสดงอาการหน้าซีด เดี๋ยวแดง เดี๋ยวซีด อมชมพู ตามมาทันที เพราะว่า ร่างกายของไก่ตอนนั้นไม่แข็งแรงเต็มที่ หลังจากที่เรามาเอาออกกำลังกาย จะส่งผลให้ร่างกายทรุดลงอย่างรวดเร็วและผลที่ตามมาคือ หน้าซีดขาว กระเพาะไม่ย่อยตามมา
วิธีการรักษา
ขั้นตอนที่ 1 ถ้าหากพบเจออาการข้างต้น แนะนำว่าอย่าออกกำลังกายหนักๆ หรือปล้ำไก่โดยเด็ดขาด และใช้ยาฉีดบำรุงพวกวิตามินบีรวมที่วางขายและใช้สำหรับสัตว์ (ดูขนาดและอัตราการใช้ที่เหมาะสมถามสัตวแพทย์ให้เข้าใจก่อนใช้) ถ้าการป่วยเกิดจากสาเหตุการบาดเจ็บภายในอาการป่วยไก่จะค่อยๆ ดีขึ้น ควรนำไปปล่อยตามธรรมชาติหรือขังคอกที่มีพื้นที่กว้างให้อยู่อิสระ
ขั้นตอนที่ 2 ถ้าการรักษาด้วยวิธีแรกไม่ได้ผล ก็สัณนิษฐานว่าน่าจะเกิดจากการติดเชื้อมาลาเรียไก่ (ย้ำว่าเชื้อมีหลายชนิดที่สรุปแบบนี้เนื่องจากสาเหตุนี้เป็นสาเหตุใหญ่ ซึ่งก็อาจไม่ใช่เสมอไป) เราก็ใช้ยาพวกใช้ยาคลอโรควิน (Chloroquine) หรือ ยาด็อกซีไซคลิน
(Doxycycline) ชนิดใดชนิดหนึ่ง
1) ยาคลอโรควิน ออกฤทธิ์ได้ดี และรวดเร็วต่อเชื้อมาลาเรีย
ระยะในเม็ดเลือดแดง ควรให้ยาในขนาด 30 มิลลิกรัม/น้ำหนักไก่ 1
กิโลกรัม/วัน ติดต่อกันนาน 4 วัน หลังจากนั้น ทุก 2 สัปดาห์ ให้ขนาด 10 มิลลิกรัม/น้ำหนัก
ไก่ 1 กิโลกรัม/วัน ติดต่อกันนาน 4 วัน เพื่อป้องกันโรคต่อไป จนไก่
แสดงอาการดีขึ้นจึงหยุดให้ยา และไม่ควรให้ยายาวนานเพราะ
อาจเกิดผลข้างเคียงของยาได้ (ควรปรึกษาสัตวแพทย์) เมื่อรักษาดีขึ้นแล้วก็ควรหาพื้นที่ปล่อยให้ไก่ฟื้นตัวตามธรรมชาติ
ขั้นตอนที่ 3 การให้สารอาหารเสริมเพื่อให้ไก่กลับสู่สภาพปกติ
1. ให้วิตามิน A, B และ C ผสมในน้ำ 2. ให้อาหารเสริมประเภทโปรตีน และกลูโคส เช่น ผสมกากน้ำตาลในอาหารเม็ด
3. ให้ยาบำรุงประเภทธาตุเหล็กเพิ่มช่วยเพิ่มประสิทธิภาพใน
การสร้างเม็ดเลือดแดง ทดแทนเม็ดเลือดแดงที่ถูกทำลายจาก
เชื้อมาลาเรีย
การป้องกันโรค
ควรกำจัดยุง และแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ทำมุ้งรอบเล้าไก่
หรือเลี้ยงไก่ในระบบโรงเรือนปิดซึ่งสามารถกันยุงได้ และควรมีการตรวจเลือดไก่เป็นระยะ เพื่อจะได้ทราบสภาวะโรค โดยเฉพาะช่วงแรก ๆ ของฤดูฝน อย่าลืมว่าการป้องกันดีกว่าการรักษานะครับ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น